วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เพลงพูดตรงๆ

สมาคมฟุตบอลอังกฤษ




ประวัติสมาคมฟุตบอลอังกฤษ

แชมป์พรีเมียร์ลีก
ฤดูกาลผู้ชนะเลิศ
2010-11แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2009-10เชลซี
2008-09แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2007-08แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2006-07แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2005-06เชลซี
2004-05เชลซี
2003-04อาร์เซนอล
2002-03แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2001-02อาร์เซนอล
2000-01แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1999-00แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1998-99แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1997-98อาร์เซนอล
1996-97แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1995-96แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1994-95แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส
1993-94แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1992-93แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

แต่เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจาก รูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป[1]

[แก้] ปัญหาเริ่มต้น

ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าเรื่องของสนามกีฬาที่มีปัญหา เหตุการณ์อันธพาลลูกหนัง หรือที่เรียกว่าฮูลิแกน ทำลายภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ ไฟไหม้อัฒจันทร์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2528 ที่สนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลแบรดฟอร์ดซิตี ในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์วันที่ 15 เมษายน 2532 ที่สนามฟุตบอลฮิลส์เบอโรของสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิตกว่า 96 คน นอกจากนี้โศกนาฏกรรมเฮย์เซลที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขันชิง ถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี อันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบ หลังจากการแข่งขันจะเกะกะระราน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยโศกนาฎกรรมเฮย์เซล์ส่วนหนึ่งมาจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน
หลายเหตุการณ์ทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะโดนลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย
ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์เบอโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่า รายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้งหมด ห้ามไม่ให้มีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลของคนอังกฤษมานาน บางแห่งก็มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัตจันทร์ เดอะค็อป ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลต้องจบไป ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและสมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชั่นหนึ่งหรือดิวิชั่นสองยังคงมีอัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลงอย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีปิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้
รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคีสมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมสรละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชั่นหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงินให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้

[แก้] กิจการถ่ายทอดทางโทรทัศน์

ในช่วงเวลาที่สโมสรใหญ่ต้องการเงินทุนมหาศาลนี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์สกาย ยื่นข้อเสนอให้สโมสรในดิวิชั่นหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ให้ถอนตัวจากสมาชิกฟุตบอลลีกเพื่อมาจัดตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก โดยทางสถานีขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันในราคาแพง ทำสัญญาฉบับแรกซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นเวลา 5 ปี (ฤดูกาล 1992-93 ถึง 1996-97) จ่ายค่าตอบแทนให้ 304 ล้านปอนด์ เทียบกับในอดีตที่ฟุตบอลลีกได้รายได้จากการขายสิทธิให้สถานี ITV เพียง 44 ล้านปอนด์ ในช่วงเวลา 4 ปี เงื่อนไขตอบแทนทางธุรกิจเช่นนี้ ดึงดูดให้สโมสรทั้งหลายสนใจเป็นอย่างยิ่ง จนผู้บริหารสโมสรบางคน เช่น นายอลัน ชูการ์ เจ้าของสโมสรฟุตบอลทอตแนมฮ็อตสเปอร์ แสดงตนเป็นแกนนำในการล็อบบี้ให้สโมสรอื่น ๆ ในดิวิชั่นหนึ่งที่จะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 1992-93 เห็นชอบกับการก่อตั้งลีกแห่งนี้
ในประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์ บริษัทเคเบิลทีวีของทรู คอร์ปอเรชั่น คว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2007-08 เป็นต้นไป

[แก้] การจัดตั้ง

17 กรกฎาคม 1991 มีการลงนามข้อตกลงภาคีสมาชิกก่อตั้ง (Founder Members Agreement) เพื่อวางหลักการสำคัญในการจัดตั้งพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ระบบลีกสูงสุดใหม่นี้จะดำเนินการทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำให้พรีเมียร์ลีกมีอิสระที่จะเจรจาผลประโยชน์กับผู้สนับสนุน รวมทั้งสิทธิในการขายสิทธิถ่ายทอดโทรทัศน์ของตนเอง แยกขาดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษและฟุตบอลลีก จากนั้นในปี 1992 ทั้ง 20 สโมสรได้ยื่นขอถอนตัวจากฟุตบอลลีกอย่างเป็นทางการ
ต่อมา 27 พฤษภาคม 1992 เอฟเอพรีเมียร์ลีกจึงก่อตั้งโดยจดทะเบียนในรูป บริษัทจำกัด มีสโมสรฟุตบอลสมาชิกทั้ง 20 แห่งเป็นหุ้นส่วน ความเป็นหุ้นส่วนจึงขึ้นอยู่กับผลการแข่งขันทางสโมสร หากทีมใดยังคงอยู่ในพรีเมียร์ลีกก็จะถือเป็นหุ้นส่วนของพรีเมียร์ลีกต่อไป ในช่วงปิดฤดูกาลสโมสรที่ตกชั้นจะต้องมอบสิทธิความเป็นหุ้นส่วนให้กับสโมสรที่เลื่อนชั้นมาจากลีกแชมเปี้ยนชิป โดยมีสมาคมฟุตบอลอังกฤษถือสิทธิเป็นหุ้นส่วนหลัก มีอำนาจที่จะคัดค้านในประเด็นสำคัญ เช่น การแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้บริหารระดับสูง หลักการเลื่อนชั้นหรือตกชั้นของสโมสรเท่านั้น แต่ไม่อาจล่วงไปถึงกิจการเฉพาะของพรีเมียร์ลีก ซึ่งได้แก่เงื่อนไขและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่าง ๆ
ด้วยค่าตอบแทนจากการถ่ายทอดโทรทัศน์และประโยชน์ที่ได้รับจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน ทำให้พรีเมียร์ลีกพัฒนาเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

[แก้] การซื้อตัวผู้เล่นต่างชาติ

จารีตอันยาวนานของสโมสรฟุตบอลอังกฤษในเรื่องนักฟุตบอลของทีมคือ แต่ละสโมสรจะส่งตัวแทนค้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางการเล่นฟุตบอลเพื่อนำมาฝึกหัดพัฒนาทักษะ โดยให้ลงเล่นตั้งแต่ในทีมระดับเยาวชน สมัครเล่น หรือทีมสำรอง ผู้ที่มีความโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งลงแข่งในฟุตบอลลีก หากจะมีการซื้อตัวผู้เล่น ก็มักจะมาจากสโมสรในดิวิชั่นหนึ่ง (แบบเดิม) ซื้อตัวผู้เล่น ดาวรุ่ง จากดิวิชั่นที่ต่ำกว่าหรือจากสโมสรสมัครเล่นนอกลีก มีน้อยมากที่ซื้อนักฟุตบอลต่างชาติ (ไม่นับรวม สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์) ต่างจากสโมสรฟุตบอลอาชีพทางยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรฟุตบอลในอิตาลีและสเปน ซึ่งมักจะได้รับฉายาว่า เจ้าบุญทุ่ม บ่อยครั้งที่สโมสรฟุตบอลจากสองประเทศนี้จ่ายเงินมหาศาล จนถึงขั้นสร้าง สถิติโลก ในการซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติเพียงหนึ่งคน
แต่เมื่อพรีเมียร์ลีกก่อกำเนิด ธรรมเนียมการกว้านซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติของสโมสรฟุตบอลอังกฤษจึงเริ่มมีมากขึ้น จารีตการสร้างนักฟุตบอลของตัวเองแม้จะยังคงอยู่แต่ก็ลดความสำคัญลงไปทุกขณะ เพราะต้องใช้เวลายาวนานอาจไม่ทันการณ์ สู้ใช้เงินซื้อนักฟุตบอลชื่อดังระดับโลกมาร่วมสังกัดไม่ได้ ที่สามารถดึงดูดแฟนฟุตบอลให้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันมากขึ้นในเวลาอันสั้น ลีลาการเล่นที่ตื่นเต้นเร้าใจย่อมขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อสโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีกต่างมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงกว่าเดิม จึงพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์
รูปโฉมใหม่ของฟุตบอลอาชีพอังกฤษเปิดฉากขึ้น ในฤดูกาล 1994-95 เมื่อทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ซื้อตัว เจอร์เก้น คลินส์มันน์ (Juergen Klinsmann) นักฟุตบอลทีมชาติเยอรมันจากสโมสรโมนาโก จากฝรั่งเศส ทักษะและลีลาการเล่นฟุตบอลของคลินส์มันน์สร้างความตื่นตาตื่นใจต่อผู้ชม ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของกองเชียร์ในเวลาไม่นาน สร้างความพึงพอใจต่อสโมสรต้นสังกัดเป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จของทอตแน่มฮอตสเปอร์กระตุ้นให้สโมสรอื่น กล้าลงทุนซื้อตัวนักฟุตบอลระดับโลกมากขึ้น เพราะรายรับที่ได้กลับคืนมาคุ้มค่ากับการลงทุน
ในฤดูกาลถัดมานักฟุตบอลต่างชาติได้มาเล่นในฟุตบอลอังกฤษมากขึ้น ในฤดูกาล 1995-96 สโมสรมิดเดิลสโบร ซื้อ จูนินโญ่ และ เอเมอร์สัน (บราซิล) สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเด็ต ซื้อ ฟาอุสติโน่ อัสปริญ่า (โคลอมเบีย) สโมสรอาร์เซนอล ซื้อ เดนนิส เบิร์กแคมป์ (ฮอลแลนด์) สโมสรเชลซี ซื้อ รุด กุลลิท (ฮอลแลนด์) ฯลฯ ฤดูกาล 1996-97 สโมสรมิดเดิลสโบร์ ซื้อ ฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ (อิตาลี) สโมสรเชลซี ซื้อ จิอันลูกา วิอัลลี่ และ จิอันฟรังโก้ โซล่า (อิตาลี) สโมสรลิเวอร์พูล ซื้อ แพทริก แบเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก) สโมสรอาเซนอล ซื้อ ปาทริค วิเอร่า (ฝรั่งเศส) ฯลฯ
นอกจากนักฟุตบอลแล้ว ผู้จัดการทีมต่างชาติก็เข้ามามีบทบาทในพรีเมียร์ลีกจวบจนปัจจุบันนี้ ไม่ว่า อาแซน แวงเกอร์, รุด กุลลิท, เชอรา อุลิแยร์, ราฟาเอล เบนีเตซ, โชเซ มูรีนโย ฯลฯ แม้แต่สโมสรฟุตบอลที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง ดังเช่น สโมสรลิเวอร์พูล ที่แม้ปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ช้ากว่าคู่แข่งหลายทีม จนทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับแชมป์พรีเมียร์ลีก (ต่างจากยุคฟุตบอลลีก) ยังต้องปรับตัวต่อกระแสการซื้อตัวนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมต่างชาติ เพื่อหวังจะครองแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกให้ได้
อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้ เอฟเอพรีเมียร์ลีกเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ดึงดูดนักฟุตบอลชั้นดีให้มาประกอบวิชาชีพไม่ต่างจาก กัลโช่ เซเรีย อา ของประเทศอิตาลี หรือ ลาลีกา ของประเทศสเปน ตัวชี้วัดคุณภาพที่ดีที่สุดคือนักฟุตบอลที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ซึ่ง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ มีจำนวน 101 คนที่เล่นฟุตบอลในอังกฤษ และปัจจุบันมีนักฟุตบอลต่างชาติในพรีเมียร์ชิพมากกว่า 250 คน

[แก้] ระบบการแข่งขัน

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก ที่ใช้มาจนถึงฤดูกาล 2007
มีทีมร่วมแข่งขัน 20 ทีม แข่งขันในระบบพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 3 สโมสรที่ได้คะแนนน้อยที่สุด จะถูกลดชั้นไปเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ
4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยสามทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม ในขณะที่ทีมอันดับ 4 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 5 6 7 จะได้เล่นยูฟ่า ยูโรป้า ลีก (ยูฟ่า คัพ) เดิม และทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภานในประเทศก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูโรป้า ลีก เช่นกัน ในกรณีที่ทีมอันดับ 1-4 ได้ ก็จะได้เล่นแชมเปียนส์ ลีก เหมือนเดิม ทีมที่เหลือจะได้เล่นยูโรป้า ลีก

[แก้] ผู้สนับสนุน

ผู้สนับสนุนในฤดูกาลต่างๆ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81

ข้อมูลเมื่อ 16 กรกฎาคม 2552
รายชื่อนักฟุตบอลที่ทำประตูสูงสุด
อันดับนักฟุตบอลประตู
1อลัน เชียเรอร์260
2แอนดรูว์ โคล187
3เธียร์รี่ อองรี174
4ร็อบบี ฟาวเลอร์163
5เลส เฟอร์ดินานด์149
6ไมเคิล โอเวน148
7เทดดี เชอริงแฮม147
8จิมมี ฟลอยด์ ฮัสเซลแบงก์127
9ร็อบบี คีน126
10ดไวท์ ยอร์ก
123

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติสโมสรลิเวอร์พลู

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) (ฉายา หนมหมา) เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ลิเวอร์พูลครองแชมป์ดิวิชั่น 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ก่อตั้งใน วันที่ 15 มีนาคม ปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14 มีฉายาในภาษาไทยว่า "หงส์แดง" พร้อมด้วยคำขวัญ "You'll Never Walk Alone"
สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดชองประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล 1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65)และคว้าแชมป์ดิวิชั่น1 อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้นบิลล์ แชงก์คลีขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี่
สโมสรต้องประสบกับความซบเซาในช่วงหนึ่งหลังจากได้แชมป์ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2533 คือได้เพียงเอฟเอคัพ 1 ใบ ปี พ.ศ. 2535 กับลีกคัพ 1ใบในปี พ.ศ. 2538 แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์บอลถ้วยทั้งในระดับประเทศและระดับทวีปถึง 3 แชมป์ (คาร์ลิ่ง ลีกคัพ,เอฟเอคัพ รวมทั้งยูฟ่าคัพ) ได้ในปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2000/01) ในปี 2544 นี้ลิเวอร์พูลยังคว้าถ้วยยูฟ่าซูเปอร์คัพที่เอาชนะบาเยิร์น มิวนิค แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกในปีนั้น รวมทั้งเอาชนะแมนฯยูฯคู่ปรับตัวฉกาจในถ้วยแชริตี้ชิลด์ก่อนเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีกเป็นปีที่หอมหวานปีหนึ่งของกองเชียร์ลิเวอร์พูล นักเตะสำคัญยุคนั้นได้แก่ ไมเคิล โอเวน, เอมิล เฮสกี้, สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ซามี ฮูเปีย และ ยอร์น อาร์เน่ รีเซ่ เป็นต้น ทีมชุดนี้ผู้จัดการทีมคือ เชร์รา อุลลิเย่ ชาวฝรั่งเศส ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันส่งท้ายของอุลลิเย่คือ การนำทีมลิเวอร์พูลชนะแมนฯยูฯ 2-0 ในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพ พ.ศ. 2546 (ฤดูกาล 2002/03) แชมป์ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของลิเวอร์พูลคือปี 2548 ชนะในศึกยูฟ่า แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งที่ 5 ของสโมสร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตื่นตาตื่นใจครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บอลยุโรป เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตีเสมอทีมเอซี มิลาน เป็น 3 -3 ทั้งที่โดนยิงนำไปก่อนถึง 3 -0 และในที่สุดคว้าแชมป์มาได้จากการยิงจุดโทษชนะ 3-2 เป็นทีมจากอังกฤษที่ครองถ้วยยูโรเปียนคัพ (ปัจจุบันคือ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก) มากครั้งที่สุดถึง 5 สมัย ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้น อาทิ สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ชาบี อาลอนโซ, ดีทมา ฮามันน์, วลาดิเมียร์ ซมิเซอร์, เจอร์ซี่ ดูเด็ค และ เจมี คาร์ราเกอร์ คุมทัพโดย ผู้จัดการทีมสัญชาติสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ ในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2549 (ฤดูกาล 2005/06) ลิเวอร์พูลของเบนิเตซทำให้แฟนบอลต้องลุ้นอีกครั้ง ในนัดชิงเอฟเอคัพ เมื่อต้องอาศัยลูกยิงมหัศจรรย์ของ สตีเว่น เจอร์ราร์ด ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บตีเสมอทีมเวสต์แฮม ยูไนเต็ดคู่ชิงแชมป์ในปีนั้นทำให้เสมอกันที่ 3-3 ต้องตัดสินแชมป์ด้วยการยิงจุดโทษอีกครั้ง และลิเวอร์พูลก็สามารถชนะไปได้ 3-1 เป็นแชมป์สำคัญรายการล่าสุดที่ลิเวอร์พูลทำได้ แต่รายการที่แฟนบอลต้องการมากที่สุดคือแชมป์ลีกของประเทศ หรือพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน ซึ่งปีล่าสุดที่ลิเวอร์พูลคว้ามาได้คือ พ.ศ. 2533 (ฤดูกาล 1989/90) จากการคุมทีมของ เคนนี ดัลกลิช ซึ่งต่อมาภายหลังดัลกลิสสามารถนำแบล็คเบิร์น โรเวอร์สคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ในปี พ.ศ. 2538 (ฤดูกาล 1994/95)
สนามปัจจุบันของสโมสรคือ แอนฟิลด์ มีความจุ 45,362 คน ในขณะเดียวกันสนามใหม่กำลังถูกวางแผนก่อสร้างในชื่อ สนามสแตนลีย์พาร์ก ความจุประมาณ 60,000 อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของและทางเอชเคเอส สำนักงานสถาปนิกอเมริกัน