วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จิตรวิทยาการกีฬา

จิตวิทยาการกีฬา : การเตรียมจิตใจเพื่อการแข่งขันกีฬา
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการกีฬา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องจิตวิทยาการกีฬาไว้ว่านักกีฬาระดับสุดยอดหรือนักกีฬาที่เก่งต้องมีเตรียมการสำหรับตนเองใน 4 ด้าน ดังนี้  คือ
1)      ด้านร่างกาย
2)      ด้านเทคนิค(ทักษะ)
3)      ด้านกลวิธีการเล่น
4)      ด้านจิตใจ
ประการแรก คือนักกีฬาต้องมีสมรรถภาพทางกายที่ดี ประการที่ ต้องมีทักษะสูงและเทคนิคที่ดีจากการฝึกซ้อม เพื่อที่นักกีฬาจะแสดงความสามารถได้โดยอัตโนมัติ  ประการที่ เป็นการเตรียมด้านกลวิธีการเล่นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ และ ประการที่  4  เป็นการเตรียมทางด้านจิตใจ  ซึ่งในระหว่าง 2 – 3  ปีที่ผ่านมาองค์ประกอบข้างต้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น   ในการแข่งขันระดับนานาชาติ  นักกีฬาจะมีความแตกต่างในด้านสมรรถภาพทางกายและด้านทักษะในการแข่งขัน  และความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันเนื่องจากการเตรียมด้านจิตใจ ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ มีนักกีฬาจำนวนน้อยที่สามารถระงับความตื่นเต้นได้  นักกีฬาส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะแสดงความสามารถด้านร่างกายและทักษะได้ดี นักกีฬาบางคนไม่สามารถจะเรียนรู้ทักษะใหม่ได้ในเวลาที่จำกัดและมีความสับสนอย่างมากรวมทั้งเกิดอาการผิดพลาดอื่น ๆ ในขณะปฏิบัติทักษะ  นักกีฬาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ทักษะทางด้านจิตใจ จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากความสับสนและสามารถปฏิบัติทักษะได้อย่างเต็มศักยภาพ
ความสำคัญของจิตวิทยาการกีฬา
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักพลศึกษาได้แก่งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาการกีฬาที่ได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยนักพลศึกษาสาขาจิตวิทยาการกีฬาจากการสำรวจความคาดหวังด้านการเรียนรู้ทักษะกลไก ตั้งแต่ช่วงต้นปี 1970 แสดงให้เห็นว่า ผู้ฝึกสอนยังมีความต้องการความก้าวหน้าในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ผู้ฝึกสอนกีฬา  จากการประยุกต์ใช้ผลจากการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มากยิ่งขึ้น (Martin and Lumsden อ้างถึง Gowan, 1979)
จิตวิทยาการกีฬา หมายถึง การนำความรู้ด้านจิตใจมาประยุกต์เข้ากับการพัฒนาความสามารถและความพอใจของนักกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา (Martin and Lumsden อ้างถึง Blimkie ,1984)
วิธีพัฒนาทักษะนักกีฬาที่มีประสิทธิภาพ
วิธีการเรียนรู้ทักษะที่ดีที่สุดของนักกีฬาแต่ละคนคือการกำจัดสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หรือ กิจกรรมที่ไม่สร้างนิสัยที่ดีให้นักกีฬา  หรือการฝึกด้วยการผสมผสานทักษะที่ง่ายเข้ากับทักษะที่ซับซ้อนหรือการสร้างกระบวนการที่ให้นักกีฬาสามารถกระทำได้สำเร็จ
วิธีจูงใจในการฝึกซ้อมและการฝึกความอดทน
ผู้ฝึกสอนจะพัฒนาความสนใจในการฝึกซ้อมให้มีประสิทธิภาพได้โดยการจูงใจให้นักกีฬาใช้เวลาในการฝึกให้มาก  ผู้ฝึกสอนต้องบริหารเวลาการฝึกเพื่อให้นักกีฬาเสียเวลาในการฝึกให้น้อยที่สุด  ในบทก่อนหน้านี้  ได้นำเสนอตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการฝึกหลายอย่าง เพื่อให้นักกีฬาและผู้ฝึกสอนสามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกสอนกีฬา  รวมทั้งวิธีตั้งเป้าหมายของการฝึก  วิธีการให้รางวัลที่มีประสิทธิภาพ  การบันทึกผลการฝึกของตนเอง  และการมองเห็นพัฒนาการของนักกีฬาแต่ละคน  ในการสร้างทีม  สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการจูงใจที่มีประสิทธิภาพที่ผู้ฝึกสอนสามารถเรียนรู้ได้อย่าง
รวดเร็วทั้งสิ้น
วิธีแก้ปัญหาของนักกีฬาแต่ละบุคคล
เมื่อคนส่วนใหญ่ได้ยินคำว่า นักจิตวิทยาเขาอาจมองถึงนักจิตวิทยาที่นั่งอยู่ในสำนักงานและดำเนินการรักษาคนไข้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน   นักกีฬาควรไปหานักจิตวิทยาคลีนิคและเล่าปัญหาและประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้นักจิตวิทยาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ  เหล่านั้น  เนื่องจากปัญหาส่วนบุคคลอาจก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติทักษะทางกีฬาของนักกีฬา ดังนั้นในบางประเทศจึงส่งนักจิตวิทยาไปกับทีมกีฬาขณะเดินทางไปแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ เมื่อเขาเห็นว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากอารมณ์ของนักกีฬาหรือปัญหาอื่น ๆ ที่นักกีฬาบางคนอาจจะประสบได้อย่างรวดเร็ว  โดยความรู้สึกนี้  นักจิตวิทยาคลีนิคที่ได้รับการฝึกและมีประกาศนียบัตรจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเตรียมการให้บริการแก่นักกีฬาได้เป็นอย่างดีในการที่จะทำให้นักกีฬามีความพร้อมในทางที่ต้องการในทางที่เหมือน ๆ กัน
หลักการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดี
นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ฝึกสอนได้แนะนำนักกีฬาไปเป็นคำตอบที่นักจิตวิทยารู้ดีว่าผู้ฝึกสอนไม่รู้วิธีการจูงใจนักกีฬาเพื่อให้เขาปฏิบัติทักษะในระดับที่สูงได้อย่างเต็มที่ หรือใช้วิธีการพัฒนาทักษะอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  และบางครั้งมีการใช้วิธีการฝึกแบบลองผิดลองถูก  และไม่มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ใช้ฝึกเพื่อลดความผิดพลาด ในขณะที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ของ
ผู้ฝึกสอนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวนี้  ต้องระลึกไว้ว่าการฝึกสอนกีฬาเป็นงานที่ยากและในอดีตมีโอกาสในการเตรียมการฝึกที่ไม่เพียงพอ  แม้ผู้ฝึกสอนหลายคนใช้เวลาอย่างอิสระหลายชั่วโมงในการฝึกสอน  และบางครั้งใช้เวลาในการฝึกที่มีหลักการเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าผู้ฝึกสอนไม่ได้นำหลักของการวิจัยด้านจิตวิทยาการกีฬา  สรีรวิทยา  เวชศาสตร์และสังคมวิทยา   ตลอดจนอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกซ้อมด้วย
สิ่งที่ต้องเน้นคือวิธีการฝึกสอนกีฬาให้มีประสิทธิภาพ  เพื่อจะช่วยปรับทักษะและพฤติกรรมของนักกีฬาให้ก้าวหน้าและรักษาระดับความสามารถในการปฏิบัติทักษะของนักกีฬาไว้  และเพื่อเป็นการปรับปรุงพฤติกรรมการฝึกสอนให้มีประสิทธิภาพ ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องปรับวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ด้วยการตั้งเป้าหมายการฝึก การชมเชย การตำหนิ และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่ถูกต้อง และประเมินประสิทธิภาพของนักกีฬาภายหลังจากที่ได้มีการปรับพฤติกรรมแล้ว  เพื่อเป็นการพัฒนาและปรับพฤติกรรมด้านทักษะการฝึกสอนด้วย
การเตรียมจิตวิทยาการกีฬาสำหรับนักกีฬาที่เข้าแข่งขัน
ตามปกติ จิตวิทยาการกีฬาจะเกี่ยวข้องกับ สภาพจิตใจ”  ในระหว่างการแข่งขัน  ดังเช่น
การแสดงออกของนักกีฬาและอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากความพ่ายแพ้ที่อาจมีสาเหตุมาจากจิตใจ  หรือความรู้สึกที่ว่าถ้าต้องการจะทำสิ่งใดให้ดีที่สุด  ต้องทำให้จิตใจดีขึ้น”  หรือ ถ้าจะทำสิ่งต่างๆ ในการแข่งขันครั้งสำคัญให้ดีขึ้นต้องเรียนรู้วิธีการทำให้จิตใจให้สงบ
ตัวอย่างของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยชุดเตรียมโอลิมปิคที่เดินทางไปแข่งขันที่บ้านของทีมสหรัฐเอมิเรส  ทีมไทยแพ้ ประตูต่อ 1 ซึ่งนักกีฬาส่วนใหญ่เป็นนักเตะหน้าใหม่แม้จะมีการเตรียมทีมกันอย่างดี  ผู้จัดการทีมได้ออกมาให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า นักกีฬามีความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะเป็นอย่างมากเพราะมีการเตรียมตัวและลงทุนกับนักกีฬาชุดนี้มาก แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้จัดการทีมกล่าวคือนักกีฬาบางคนมีความตื่นเต้นและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้   แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติทักษะและการแสดงความสามารถของนักกีฬานั้นอาจจะมีผลมาจากด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเนื่องจากความหวังตามเป้าหมายคือการไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิค นักกีฬาอาจมีความตั้งใจสูงและส่งผลไปยังการปฏิบัติทักษะ
นักจิตวิทยาการกีฬาชาวคานาดาได้แบ่งเนื้อหาในการเตรียมด้านจิตวิทยาสำหรับการแข่งขันออกเป็น  2 ระยะ คือ ระยะก่อนการแข่งขันและระยะของการแข่งขัน  กลวิธีก่อนการแข่งขันเป็นแผนการเฉพาะที่จะดำเนินไปในวันก่อนการแข่งขันในแต่ละรายการ และยังรวมถึงสิ่งที่นักกีฬาควรจะทำ พูด คิด ตั้งสมาธิ และขึ้นอยู่กับเวลาที่นักกีฬาใช้ตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น  โดยเฉพาะการทำสมาธิ  หรือตั้งใจใช้เวลา 2 – 3 นาที ก่อนการแข่งขัน คิดถึงภาพรวมของการแข่งขัน การปฏิบัติทักษะให้เต็มศักยภาพก่อนการแข่งขันจะเป็นวิธีที่เพิ่มศักยภาพให้นักกีฬาที่ได้ทำการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี เพราะการทบทวนความคิดดังกล่าวเป็นการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับนักกีฬาโดยตรง
ความสำคัญในการฝึกทางจิตวิทยาการกีฬา
นักกีฬาควรเรียนรู้และฝึกวิธีการทางจิตวิทยาการกีฬาด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.             ในระหว่างวันแข่งขันมีเวลาเพียงเล็กน้อยในการทำจิตใจให้สงบ และมีโอกาสที่จะก่อความกดดันให้แก่นักกีฬาตลอดเวลา โปรแกรมจิตวิทยาการกีฬาสามารถใช้ลดความกดดันต่าง ๆ เหล่านี้ให้บรรเทาได้
2.             มีสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ชัดเจนเพื่อสนับสนุนสถานการณ์ต่างๆ  ทางจิตวิทยา เช่น ให้นักกีฬากล่าวกับตนเองและคิดวิธีที่จะปฏิบัติทักษะ  โดยไม่ต้องใช้เวลานาน
3.             ถ้านักกีฬามีการวางแผนการปฏิบัติในช่วงที่จะแข่งขันเป็นอย่างดี เขาอาจตัดสินใจใน
สิ่งที่เป็นผลดีแก่ตัวเขา  ถ้านักกีฬาไม่มีการวางแผนโดยละเอียดอาจทำให้สิ่งที่เป็นผลดีแก่เขาต้องหลุดมือไปหรือเปลี่ยนไปเป็นโอกาสของคนอื่น
4.             ในการแข่งขันนักกีฬาอาจจะรู้หรือไม่รู้วิธีการปกป้องทางจิตใจไม่ให้วุ่นวายและลดความสามารถของนักกีฬา  แต่โปรแกรมจิตวิทยาการกีฬา ช่วยให้การพยายามของฝ่ายตรงข้ามมีผลกระทบต่อจิตใจของนักกีฬาน้อยลง
5.             ถ้านักกีฬามีอาการประหม่าหรือวิตกกังวลเป็นอย่างมากก่อนการแข่งขันในรายการที่สำคัญ  จนเป็นเหตุให้นักกีฬาเสียโอกาสและไม่สามารถปฏิบัติทักษะได้อย่างเต็มศักยภาพ  โปรแกรมจิตวิทยาอาจช่วยให้นักกีฬาลดความประหม่าและความวิตกกังวลลงได้
6.             การปฏิบัติทักษะของนักกีฬาจนประสพผลสำเร็จสูงในหลาย ๆ กิจกรรมมีผลมาจากการสอนตามโปรแกรมจิตวิทยาการกีฬา
7.             ทักษะทางด้านจิตวิทยาที่จำเป็นในการพัฒนาและการวางแผน เพื่อความสำเร็จในการแข่งขันสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้หลายประการ
จิตวิทยาการกีฬาจึงมีส่วนสัมพันธ์ที่สำคัญต่อการเตรียมนักกีฬา ร่วมกับขอบข่ายการเตรียมนักกีฬาอีก 3 ด้านคือ ด้านร่างกาย ทักษะ และวิธีการเล่น  ส่วนการเตรียมทางด้านจิตใจสามารถช่วยให้การปฏิบัติทักษะของนักกีฬาใกล้เคียงกับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬา  และช่วยในการเตรียมทางด้านอื่นอีกด้วย ทักโก้ และ โตไซ (Tutko  and  Tosi : 1976) ยังเห็นว่า  จิตวิทยาการกีฬาสามารถช่วยให้นักกีฬาเล่นได้ดีตลอดเวลาการแข่งขัน

ข้อจำกัดของจิตวิทยาการกีฬา
ในบางครั้งอาจพบว่า  มีการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าผู้ฝึกสอนและนักกีฬาที่มีชื่อเสียงไม่สนใจทำตามวิธีการของนักจิตวิทยา หรือบางทีผู้ฝึกสอนและนักกีฬามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องหลักการของจิตวิทยาการกีฬา  และบางทีนักวิทยาศาสตร์การกีฬามีการนำประโยชน์ของวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้อย่างผิดพลาด  แต่ไม่ว่าจะมีเหตุผลใดก็ตาม  ข้อผิดพลาดของวิทยาศาสตร์การกีฬาอาจมีผลเสียดังนี้ คือ
เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างดี ท่านต้องทำให้นักกีฬามีจิตใจที่สงบ”  โดยปกตินักกีฬา
บางคนต้องเรียนรู้วิธีการปลุกสรีระเพิ่มเติมและแสดงชนิดของพฤติกรรมที่สามารถจะอธิบายได้ว่าเป็น  “การกระตุ้นตนเอง“ (pumped up)  นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องเกี่ยวกับคน ๆ นั้น  ดังตัวอย่างเช่น  การปลุกสรีระด้วยการตบตามร่างกายของนักกีฬายกน้ำหนักก่อนการพยายามทำการยก  นักยิงปืนประเภทต่าง ๆ ต้องผ่อนคลายเป็นอย่างมากก่อนการยิง  นักว่ายน้ำที่แข่งขันระยะทาง  50  เมตร  ควรมีการปลุกหรือกระตุ้นสรีระของร่างกายก่อน  เพราะความสามารถของนักกีฬาเหล่านั้นอาจจะมีผลมาจากการปลุกสรีระของตนเอง
ก่อนการแข่งขันครั้งสำคัญ  ผู้ฝึกสอนควรให้ความรู้หรือข้อมูลใหม่ ๆ แก่นักกีฬาของเขาด้วย การแนะนำในนาทีสุดท้ายก่อนลงแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบคู่แข่งขันเช่น นักกีฬายกน้ำหนักอาจวิธีการตบหลัง ไหล่ หรือแก้มที่ค่อนข้างรุนแรง เป็นต้น  เมื่อถึงจุดนี้  นักกีฬาบางคนอาจไม่สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายหรือทักษะในวันแข่งขันที่สำคัญได้ แต่เวลาในช่วงสุดท้ายที่
ผู้ฝึกสอนได้ให้คำแนะนำอย่างง่าย ๆ  อาจจะทำให้นักกีฬาเกิดความมั่นใจ และสิ่งที่ควรพิจารณาในด้านจิตวิทยาการกีฬาคือต้องกระตุ้นให้นักกีฬาสามารถควบคุมตนเองให้ได้
สถานการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า  คำแนะนำในนาทีสุดท้ายจากผู้ฝึกสอนสามารถช่วยนักกีฬาได้ เช่น  การกระตุ้นนักกีฬายกน้ำหนักครั้งสุดท้ายก่อนขึ้นเวที  หรือผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลที่กำลังเฝ้าดูการอบอุ่นร่างกายของทีมตรงข้าม   หรือเห็นว่านักกีฬาฝ่ายตรงข้ามไม่ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่งในระหว่างการแข่งขันในเซทที่ 1 อาจชี้ให้เห็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารกับทีมเพื่อทำให้ทีมมีการปรับกลวิธีในการเล่น  การชี้ให้เห็นความผิดพลาด   ผู้ฝึกสอนต้องตั้งความหวังว่าเขาต้องแนะนำนักกีฬาให้ได้รับข้อมูลใหม่ในนาทีสุดท้ายก่อนการแข่งขันเสมอ   และหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อการเล่นของนักกีฬา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น